มณฑลพายัพ + มหาราษฎร์

เชียงใหม่

มณฑลพิษณุโลก

มณฑลนครสวรรค์

มณฑลเพชรบูรณ์

มณฑลกรุงเก่า

มณฑลกรุงเทพ

มณฑลนครชัยศรี

มณฑลราชบุรี

มณฑลชุมพร

มณฑลนครศรีธรรมราช

  • 2440 -- (ร.ศ.115) 7 ตุลาคม - ให้รวมเอาเมืองนครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง เรียกว่ามณฑลนครศรีธรรมราช ให้พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช[1]
  • 2441 -- (ร.ศ.115) 14 มีนาคม - ให้รวมหัวเมืองแขก 7 เมือง (เมืองตานี หนองจิก ยะลา ยะหริ่ง สายบุรี ระแงะ รามัน) เข้ามาอยู่ในมณฑลนครศรีธรรมราชด้วย[2]
จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • เมืองนครศรีธรรมราช เดิมได้แบ่งแขวงออกเป็น 10 อำเภอ แต่ภายหลัง โปรดฯให้ยกอำเภอเกาะสมุย ไปขึ้นมณฑลชุมพร จึงเหลือ 9 อำเภอ คือ[3]
    1. อำเภอกลางเมือง เป็นแขวงชั้นใน หลวงระงับประจันตะคาม เป็นนายอำเภอ ตั้งที่ว่าการกลางเมืองนครศรีธรรมราช
    2. อำเภอเบี้ยซัด เป็นแขวงชั้นกลาง หลวงพิบูลย์สมบัติ เป็นนายอำเภอ ตั้งที่ว่าการที่แม่น้ำปากพนัง
    3. อำเภอร่อนพิบูลย์ เป็นแขวงชั้นกลาง ขุนเกษตรพาหนะ เป็นนายอำเภอ ตั้งที่ว่าการที่ร่อนพิบูลย์
    4. อำเภอกลาย เป็นแขวงชั้นกลาง นายเจริญ เป็นนายอำเภอ ที่ว่าการที่ปากน้ำท่าสูง
    5. อำเภอสิชล เป็นแขวงชั้นนอก ต่อแดนเมืองกาญจนดิษฐ์ นายบัว มหาดเล็ก บุตรเจ้าพระยาศรีธรรมราช เป็นนายอำเภอ ที่ว่าการที่บ้านไชยกราบ
    6. อำเภอลำพูน เป็นแขวงชั้นนอก ต่อแดนเมืองคีรีรัฐนิคม เมืองกาญจนดิษฐ์ และเมืองกระบี่ นายเมก เป็นนายอำเภอ ที่ว่าการที่บ้านนา
    7. อำเภอฉวาง เป็นแขวงชั้นนอก ต่อแดนเมืองคีรีรัฐนิคม เมืองกาญจนดิษฐ์ และเมืองกระบี่ นายน้อย เป็นนายอำเภอ ที่ว่าการที่บ้านคลองตาล
    8. อำเภอทุ่งสง เป็นแขวงชั้นนอก ต่อแดนเมืองตรัง เมืองกระบี่ นายเที่ยง เป็นนายอำเภอ ที่ว่าการที่บ้านโคกแซะ
    9. อำเภอเขาพังไกร เป็นแขวงชั้นนอก ต่อแดนเมืองพัทลุง เมืองสงขลา นายก้าน มหาดเล็ก บุตรพระดำรงเทวะฤทธิ (กล่อม) เป็นนายอำเภอ ตั้งที่ว่าการที่เขาพังไกร
จังหวัดสงขลา
  • 2531 -- ตำบลสำนักขามได้แยกตำบลออกจากตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และมติที่ประชุมสภาตำบลได้ตั้งชื่อตำบลโดยกำหนดเอาพื้นที่ศูนย์พัฒนาตำบลตั้งอยู่ คือ บ้านสำนักขาม [4]

มณฑลภูเก็ต

มณฑลไทรบุรี

  • 2441 -- 7 เมษายน - ให้รวมเอาเมืองไทรบุรี เมืองปะลิศ และเมืองสตูล ขึ้นเป็นมณฑลไทรบุรี มีเจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุล ฮามิด) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล [5]

มณฑลมลายู

จังหวัดปัตตานี
  • 2532 -- 21 กุมภาพันธ์ - ตั้งกิ่งอำเภอแม่ลาน (แยกตำบลแม่ลาน ตำบลป่าไร่ และตำบลม่วงเตี้ย จากอำเภอโคกโพธิ์) [6]
จังหวัดนราธิวาส
  • 2480 -- 1 เมษายน - โอนตำบลโตนด ตำบลมะนังปันยัง(ตำบลสามัคคี) และตำบลสาวอ อำเภอโกตาบารู (รามัน) ไปขึ้นกิ่งอำเภอรือเสาะ อำเภอตันหยงมัส จังหวัดนราธิวาส[7]
    • 2535 -- แบ่งพื้นที่ 4 จาก 8 หมู่บ้าน ตำบลสามัคคี ตั้งตำบลสุวารี[8]
  • 2482 -- 3 ตุลาคม - ยกฐานะกิ่งอำเภอรือเสาะฯ ขึ้นเป็นอำเภอรือเสาะ มีอาณาเขตปกครอง ตำบลรือเสาะ ตำบลลาโละ ตำบลบาตง ตำบลโตนด ตำบลมะนังปันยัง ตำบลซากอ ตำบลตะมะยูง ตำบลเรียง และตำบลสาวอ รวม 9 ตำบล[9]


  1. รายงานข้าหลวงฯ มณฑลนครศรีธรรมราช ร.ศ.117 (พ.ศ.2442)
  2. รายงานข้าหลวงฯ มณฑลนครศรีธรรมราช ร.ศ.117 (พ.ศ.2442)
  3. รายงานข้าหลวงฯ มณฑลนครศรีธรรมราช ร.ศ.117 (พ.ศ.2442)
  4. ไทยตำบล - ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา สงขลา
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย 7 เมษายน ร.ศ.116 (พ.ศ.2441)
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ลาน
  7. พรบ.เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พ.ศ.2479
  8. ไทยตำบล - ตำบลสุวารี อำเภอรือเสาะ นราธิวาส
  9. เรื่องยกฐานะกิ่งอำเภอรือเสาะ ขึ้นอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ขึ้นเป็นอำเภอรือเสาะ

รายการอ้างอิง

แผนที่

  • พระวิภาคภูวดล (James Fitzroy McCarthy). (1900/2443) -- Map of the Kingdom of Siam and its dependencies - From Government surveys under the direction of J. McCarthy by order of H.R.H. Prince Mahisra Rajarudhu., [Online] from: https://collections.lib.uwm.edu/digital/collection/agdm/id/8160/
  • แผนที่แสดงพื้นที่ให้บริการของ กปภ. รายจังหวัด. ใน เว็บไซต์การประปาส่วนภูมิภาค. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://gisweb1.pwa.co.th/area_province/

เอกสาร

  • (2441, 7 เมษายน). ประกาศกระทรวงมหาดไทย. ใน ราชกิจจานุเบกษา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/006/73_1.PDF
  • (2442, 4 ตุลาคม). รายงานข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราช. โดย พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม). ใน ราชกิจจานุเบกษา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/005/65.PDF
  • (2480, 1 เมษายน). พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตต์จังหวัด พุทธศักราช 2479. ใน ราชกิจจานุเบกษา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2480/A/40.PDF
  • (2482, 9 ตุลาคม). เรื่องยกฐานะกิ่งอำเภอรือเสาะ ขึ้นอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ขึ้นเป็นอำเภอรือเสาะ. ใน ราชกิจจานุเบกษา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/D/2075.PDF
  • (2506). ประชุมพงศาวดาร เล่ม 2 (ประชุมพงศาวดารภาค 1 ตอนปลาย และภาค 2) -- กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://books.google.co.th/books?id=JWgzAAAAMAAJ
  • (2532, 14 มีนาคม). ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ลาน. ใน ราชกิจจานุเบกษา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2532/D/040/1888.PDF

ข้อมูลประกอบ

  • ข้อมูลตำบลสุวารี อำเภอรือเสาะ นราธิวาส. ใน ไทยตำบล ดอท คอม. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.thaitambon.com/tambon/960609
  • ข้อมูลตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา สงขลา. ใน ไทยตำบล ดอท คอม. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.thaitambon.com/tambon/901008

บันทึก

โครงการรถไฟทางคู่ นครปฐม - ชุมพร เดิม เป็นสามโครงการแยกกันคือ โครงการฯ นครปฐม - หัวหิน, ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร, และ หัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์

โครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ - หนองคาย) หรือ โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (en: The Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People's Republic of China on Bangkok - Nong Khai HSR Development for Regional Connectivity) เป็นโครงการระบบรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย

จารึกวัดศรีชุม (ชื่ออื่น: หลักที่ ๒ ศิลาจารึกวัดศรีชุม, ศิลาจารึกวัดศรีชุมประมาณพุทธศักราช ๑๘๘๔-๑๙๑๐, ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๒ (วัดศรีชุม)) อักษรที่มีในจารึก ไทยสุโขทัย; ศักราช พุทธศตวรรษ ๑๙-๒๐

อาณาจักรสุโขทัย เป็นอาณาจักรโบราณแห่งหนึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีอายุช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 18 - 20