...

...

  • พ.ศ. 1566 -- พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ขึ้นครองราชย์[1]
  • พ.ศ. 1576 -- จ.ศ. 395 มะเมียเบญจศก (ปีระกา) ถวายพระนามพระเจ้าสายน้ำผึ้ง[2]
  • พ.ศ. 1587 -- จ.ศ. 406 มะโรงฉศก (ปีวอก) พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก และสถาปนาวัดพระนางเชิง[3]
  • พ.ศ. 1608 -- จ.ศ. 427 มะเส็งสัปตศก พระเจ้าสายน้ำผึ้ง สวรรคต รวมครองราชย์ 42 ปี / พระยาธรรมิกราชา ราชบุตร เสวยราชสมบัติ และสร้างวัดมุขราช[4]


  1. คำนวณจากปีสวรรคต ใน ประชุมพงศาวดาร 1: P54
  2. ประชุมพงศาวดาร 1: P51
  3. ประชุมพงศาวดาร 1: P53
  4. ประชุมพงศาวดาร 1: P54

พุทธศตวรรษที่ 19

  • จุลศักราช ๖๘๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๘๖๗) แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าเจ้าพแนงเชีง[5]
  • ศักราช ๗๑๒ ขาลศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วัน ค่ำ เวลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุทธยา

ประวัติศาสตร์ล้านนา ᨷᩕᩅᩢᨲ᩠ᨲᩥᩆᩣᩈᩕ᩠ᨲ᩺ᩃ᩶ᩣ᩠ᨶᨶᩣ

  1. พ.ศ. 1803 -- มองโกล ยึดยูนนาน
  2. พ.ศ. 1804 -- พญามังราย (โอรสพญาลาวเมง และนางอั๊วมิ่งจอมเมือง (ธิดาท้าวรุ่งแก่นซาย)) ครองเมืองเงินยาง<?php footnote('ประวัติศาสตร์ล้านนา (สรัสวดี): [p116]'); ?>{/source}
  3. พ.ศ. 1805 -- พญามังราย สร้างและย้ายเมืองหลวงมาที่เมืองเชียงราย[6]
  4. พ.ศ. 1816 -- ขยายดินแดนไป ฝาง เริ่มแผนขยายอำนาจสู่หริภุญไชย [p119]
  5. พ.ศ. 1819 -- แคว้นโยนก เป็นปึกแผ่น ครอบคลุมอาณาเขต ฝาง สาด หาง พยาก เลน เชียงลาบ เชียงแขง ภูคา เชียงตุง เชียงของ เชียงคำ เทิง เวียงลอ พาน [p119 - วินัย พงศ์ศรีเพียร, ป่าไป่สีฟู-ป่าไป่ต้าเตี้ยน P36]
  6. พ.ศ. 1830 -- สัญญาสามกษัตริย์ [p120]
  7. พ.ศ. 1833 -- พญามังรายยกทัพไปพุกาม-อังวะ ระบุว่าได้ชัยชนะกลับมาจากพุกาม [p126 - ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ p30]
  8. พ.ศ. 1835 --
    • ยึดได้เมืองหริภุญไชย [P120-121]
    • กุบไลข่าน ยกทัพตีป่าไป่สีฟู เพราะพญามังราย เคยช่วยเหลือไทยใหญ่สามพี่น้อง ไล่ทัพมองโกลจากพุกาม [p126]
  9. พ.ศ. 1837 --
    • พญามังราย ให้อ้ายฟ้าครองหริภุญไชย // ไปสร้างเวียงกุมกาม (เวียงกุมกามล่มสลาย 2200 น้ำท่วม) [p122]
    • จักรพรรดิกุบไลข่าน สิ้นพระชนม์ [p125]
  10. พ.ศ. 1839 --
    • (12 เมษายน เวลา 04:00) สถาปนาเมืองเชียงใหม่ (ศ 658 ปีระวายสัน เดือนวิสาขะ ออก 8 ค่ำ วัน 5 ไทยเมืองเปล้า) [p122]
    • มองโกล ยึดเชียงรุ่ง [p146]
  11. พ.ศ. 1840 -- พญามังรายยกทัพไปตีเชียงรุ่งคืน และมองโกลโต้กลับ สงครามยืดเยื้อจนถึง 1841, 1843 [p146]
  12. พ.ศ. 1844 -- มองโกล ยกทัพยูนนานมา(?) และแพ้กลับไป [p146]
  13. พ.ศ. 1854 -- 1852-1854 พญามังรายเคลื่อนไหว ร่วมกับเชียงรุ่งยกไปปล้น?ยูนนาน
  14. พ.ศ. 1856 -- จีน? ระบุว่า ขุนเครือ (เมืองนาย) ร่วมกับเจ้าเมืองพะเยา ยกทัพมาล้อมฝาง ซึ่งเจ้าราชบุตรท้าวน้ำท่วม ครองอยู่ ท้าวน้ำท่วม ร่วมกับจีน จัดการอำนาจไว้ได้ [p148 - ปาไป่สีฟู p193]
  15. พ.ศ. 1868 -- พญาแสนพู ครองราชย์ (1868 - 1877) +สร้างเวียงเชียงแสน ทับเมืองเงินยางเก่า เป็นเมืองรับศึก [p145]
  16. พ.ศ. 1870 -- ท้าวน้ำท่วม หัวหน้าชนพื้นเมืองปาไป่สีฟู มาขออยู่ในปกครอง [p148 - ปปสฟ 187]
  17. เมืองปัวสมัยพญาผานอง เข้มแข็ง ร่วมมือกับโยนก ตีพะเยา [p145]
  18. แสนพู (1868 - 1877) คำฟู (1877 - 1879) ครองเชียงแสน [p145,147]
  19. [p147] จีนยกทัพมาตีเชียงแสนสมัยพญาสามฝั่งแกน / พญามังราย ให้พญาไชยสงคราม ครองเชียงดาว? / ประหารขุนเครื่อง // พญาไชยสงคราม ย้ายท้าวน้ำท่วมไปครองเชียงตุง /
  20. [p148] พญาผายู อภิเษกธิดาเชียงของ

ลำดับกษัตริย์ (apx)

  • 1804 - 1854 มังราย
  • 1854 - 1868 ไชยสงคราม
  • 1868 - 1877 แสนพู - ครองเชียงแสน [p145,147]
  • 1877 - 1879 คำฟู - ครองเชียงแสน [p145,147]
  • 1879 - 1898 ผายู
  • 1898 - 1928 กือนา
  • 1928 - 1944 แสนเมืองมา
  • 1945 - 1984 สามฝั่งแกน
  • 1984 - 2030 ติโลกราช
  • 2031 - 2038 ยอดเชียงราย
  • 2038 - 2068 เมืองแก้ว
  • 2069 - 2081 เมืองเกษเกล้า
  • 2081 - 2086 ท้าวชาย
  • 2086 - 2088 เมืองเกษเกล้า 2
  • 2088 - 2089 จิระประภา
  • 2089 - 2090 ไชยเชษฐา
  • 2094 - 2107 เมกุฏิสุทธิวงศ์
  • 2107 - 2121 วิสุทธิเทวี
  • .
  • 2121 - 2150 นรธาเมงสอ
  • 2150 - 2151 มองซวยเทา (ช้อย)
  • 2151 - 2156 มองกอยต่อ (ชัยทิพ)
  • 2156 - 2158 ชัยทิพ 2
  • 2158 - 2174 จม.น่าน
  • 2174 - 2198 หลวงทิพเนตร
  • 2198 - 2202 แสนเมือง
  • 2202 - 2215 จม.แพร่
  • 2215 - 2228 อป.อึ้งแซะ
  • 2228 - 2250? บุตร จ.เจกุตรา
  • 2250 - 2270 มังแรนร่า
  • 2270 - 2270 เทพสิงห์
  • 2270 - 2302 องค์คำ
  • 2302 - 2304 เจ้าจันทร์
  • 2304 - 2306 เจ้าขี้หุด (อดีตภิกษุวัดดวงดี)
  • 2306 - 2311 โป่อภัยคามินี
  • 2311 - 2317 โป่มะยุง่วน


    1. พงศาวดารฯหลวงประเสริฐ
    2. ประวัติศาสตร์ล้านนา (สรัสวดี): [p119]

พุทธศตวรรษที่ 20

  1. ศักราช ๗๓๑ ระกาศก (พ.ศ. ๑๙๑๒) แรกสร้างวัดพระราม ครั้งนั้น สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ
  2. ครั้นถึงศักราช ๗๓๒ จอศก (พ.ศ. ๑๙๑๓) สมเด็จพระบรมราชาธีราชเจ้าเสด็จมาแต่เมืองสุพรรณบุรีขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุทธยา แลท่านจึงให้สมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสด็จไปเสวยราชสมบัติเมืองลพบูรี
  3. ศักราช ๗๓๓ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๑๔) สมเด็จพระบรมราชาธีราชเจ้าเสด็จไปเอาเมืองเหนือ แลได้เมืองเหนือทั้งปวง
  4. ศักราช ๗๓๔ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๑๕) เสด็จไปเอาเมืองนครพังค่าแลเมืองแสงเชรา ได้เมือง
  5. ศักราช ๗๓๕ ฉลูศก (พ.ศ. ๑๙๑๖) เสด็จไปเมืองชากังราว แลพญาใสแก้วแลพญาคำแหงเจ้าเมืองชากังราวออกต่อรบท่าน ๆ ได้ฆ่าพญาใสแก้วตาย แลพญาคำแหงแลพลทั้งปวงหนีเข้าเมืองได้ แลทัพหลวงเสด็จกลับคืนมา
  6. ศักราช ๗๓๖ ขาลศก (พ.ศ. ๑๙๑๗) สมเด็จพระบรมราชาธีราชเจ้าแลพระมหาเถรธรรมากัลญานแรกสถาปนาพระศรีรัตณะมหาทาตุฝ่ายบูรพทิศหน้าพระบันชั้นสิงห์สูงเส้น ๓ วา
  7. ศักราช ๗๓๗ เถาะศก (พ.ศ. ๑๙๑๘) เสด็จไปเอาเมืองพีศณุโลกแลได้ตัวขุนสามแก้วเจ้าเมือง แลครัวอพยพมาครั้งนั้นมาก
  8. ศักราช ๗๓๘ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๑๙) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้น พญาคำแหงแลท้าวผ่าคองคิดด้วยกันว่า จะยอทัพหลวง แลจะทำมิได้ แลท้าวผ่าคองเลิกทัพหนี แลจึงเสด็จยกทัพหลวงตาม แลท้าวผ่าคองนั้นแตก แลจับได้ตัวท้าวพญาแลเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แลทัพหลวงเสด็จกลับคืน
  9. ศักราช ๗๔๐ มะเมียศก (พ.ศ. ๑๙๒๑) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นมหาธรรมราชาออกรบทัพหลวงเป็นสามารถ แลเห็นว่า จะต่อด้วยทัพหลวงมิได้ จึงมหาธรรมราชาออกถวายบังคม
  10. ศักราช ๗๔๘ ขาลศก (พ.ศ. ๑๙๒๙) เสด็จไปเอาเมืองเชยีงใหมแลให้เข้าปล้นเมืองนครลำภาง มิได้ จึงแต่งหนังสือให้เข้าไปแก่หมื่นณครรเจ้าเมืองณครรลำภาง ๆ นั้นจึงออกมาถวายบังคม แลทัพหลวงเสด็จกลับคืน
  11. ศักราชได้ ๗๕๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๓๑) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชาธีราชเจ้าทรงพระประชวรหนักแลเสด็จกลับคืน ครั้นถึงกลางทาง สมเด็จพระบรมราชาเจ้านฤพาน แลจึงเจ้าทองลันพระราชกุมารท่านได้เสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุทธยาได้ ๗ วัน จึงสมเด็จพระราเมศวรยกพลมาแต่เมืองลพบุรีย ขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุทธยา แลท่านจึงให้พิฆาตเจ้าทองลันเสีย
  12. ศักราช ๗๕๗ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๓๘) สมเด็จพระราเมศวรเจ้านฤพาน จึงพระราชกุมารท่านเจ้าพญารามเสวยราชสมบัติ
  13. ศักราช ๗๗๑ ฉลูศก (พ.ศ. ๑๙๕๒) สมเด็จพระรามเจ้ามีความพิโรธแก่เจ้าเสนาบดี แลท่านให้กุมเจ้าเสนาบดี ๆ หนีรอด แลข้ามไปอยู่ฟากปท่าคูจามนั้น แลเจ้าเสนาบดีจึงให้ไปเชิญสมเด็จพระอีนทราชาเจ้ามาแต่เมืองสุพรรณบุรียว่า จะยกเข้ามาเอาพระนครศรีอยุทยาถวาย ครั้นแลสมเด็จพระอีนทราชาเจ้าเสด็จมาถึงไซร้ จึงเจ้าเสนาบดียกพลเข้าไปปล้นเอาพระนครศรีอยุทธยาได้ จึงเชิญสมเด็จพระอีนทราชาเจ้าขึ้นเสวยราชสมบัติ แลท่านจึงให้สมเด็จพญารามเจ้าไปกินเมืองปท่าคูจาม
  14. ศักราช ๗๘๑ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๖๒) มีข่าวมาว่า พระมหาธรรมราชาธีราชเจ้านฤพาน แลเมืองเหนือทั้งปวงเป็นจลาจล แลจึงเสด็จขึ้นไปถึงเมืองพระบางครั้งนั้น พญาบาลเมืองแลพญาราม ออกถวายบังคม
  15. ศักราช ๗๘๖ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๖๗) สมเด็จพระอีนทราชาเจ้าทรงพระประชวรนฤพาน ครั้งนั้น เจ้าอ้ายพญา แลเจ้าญึพญา พระราชกุมารท่านชนช้างด้วยกัน ณ สะพานป่าถ่าน ถึงพิราลัยทั้ง ๒ พระองค์ที่นั้น จึงพระราชกุมารเจ้าสามพญา ได้เสวยราชสมบัติพระนครอยุทธยา ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมราชาธีราชเจ้า แลท่านจึงให้ก่อพระเจดีย์สองพระองค์สวมที่เจ้าพญาอ้ายแลเจ้าพญาญีชนช้างด้วยกันถึงอนิจภาพตำบลปาถารนั้น ในศักราชนั้น ท่านสถาปนาวัดราชบุณ
  16. ศักราช ๗๙๓ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๗๔) สมเด็จพระบรมราชาเจ้าเสด็จไปเอาเมืองนครหลวงได้ แลท่านจึงให้พระราชกุมารท่านพระนครอีนทเจ้าเสวยราชสมบัติเมืองนครหลวงนั้น ครั้งนั้น ท่านจึงให้พญาแก้วพญาใทแลรูปภาพทั้งปวง มายังพระนครศีรอยุทธยา
  17. ศักราช ๘๐๐ มะเมียศก (พ.ศ. ๑๙๘๑) ครั้งสมเด็จพระบรมราชาธีราชเจ้าสร้างวัดมเหยง เสวยราชสมบัติ แลสมเด็จพระราเมสวรเจ้า ผู้เป็นพระราชกุมารท่านเสด็จไปเมืองพีศนุโลก ครั้งนั้น เห็นน้ำพระเนตรพระพุทธเจ้าพระชีนราช ตกออกมาเป็นโลหิต
  18. ศักราช ๘๐๒ วอกศก (พ.ศ. ๑๙๘๓) ครั้งนั้น เกิดเพลิงไหม้พระราชมณเฑียร
  19. ศักราช ๘๐๓ ระกาศก (พ.ศ. ๑๙๘๔) ครั้งนั้น เกิดเพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุกข
  20. ศักราช ๘๐๔ จอศก (พ.ศ. ๑๙๘๕) สมเด็จพระบรมราชาธีราชเจ้าเสด็จไปเอาเมืองเชยีงใหม่ แลเข้าเอาปล้นเมืองมิได้ พอทรงพระประชวร แลทัพหลวงเสด็จกลับคืน
  21. ศักราช ๘๐๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๘๗) เสด็จไปปราบพรรค แลตั้งทัพหลวงตำบลปะทายเขษม ครั้งนั้น ได้เชลย ๑๒๐,๐๐๐ ทัพหลวงเสด็จกลับคืน
  22. ศักราช ๘๑๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๙๑) สมเด็จพระบรมราชาธีราชเจ้านฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า
  23. ศักราช ๘๑๓ มะแมศก (พ.ศ. ๑๙๙๔) ครั้งนั้น มหาราชมาเอาเมืองซากังราวได้ แล้วจึงเอาเมืองสุกโขใทย เข้าปล้นเมืองมิได้ ก็เลิกทัพกลับคืน
  24. ศักราช ๘๑๖ จอศก (พ.ศ. ๑๙๙๗) ครั้งนั้น คนทั้งปวงเกิดทรพิษตายมากนัก
  25. ศักราช ๘๑๗ กุนศก (พ.ศ. ๑๙๙๘) แต่งทัพให้ไปเอาเมืองมลากา
  26. ศักราช ๘๑๘ ชวดศก (พ.ศ. ๑๙๙๙) แต่งทัพให้ไปเอาเมืองลิสบทีน ครั้งนั้น เสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลโคน

พุทธศตวรรษที่ 21

  1. ศักราช ๘๑๙ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๐๐๐) ครั้งนั้น ข้าวแพงเป็นทะนานละ ๘๐๐ เบี้ย เมื่อคิดเสมอเบี้ยเฟื้องละ ๘๐๐ นั้น เกวียนหนึ่งเป็นเงินสามชั่งสิบบาท
  2. ศักราช ๘๒๐ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๐๑) ครั้งนั้น ให้บูรณะพระศาสนาบริบูรณ์ แลหล่อรูปพระโพธิสัตว ๕๐๐ ชาติ
  3. ศักราช ๘๒๒ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๐๓) เล่นการมหรสพฉลองพระ แลพระราชทานแก่สงฆ์แลพราหมณ์แลวณิพกทั้งปวง ครั้งนั้น พญาซเลยีง คิดเป็นขบถ พาเอาครัวทั้งปวงไปออกแต่มหาราช
  4. ศักราช ๘๒๓ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๐๔) พญาซเลยีงนำมหาราชมาจะเอาเมืองพิศณูโลก เข้าปล้นเมืองเป็นสามารถ มิได้เมือง แลจึงยกทัพเปรอไปเอาเมืองกำแพงเพช แลเข้าปล้นเมืองถึง ๗ วัน มิได้เมือง แลมหาราชก็เลิกทัพคืนไปเชยีงใหม
  5. ศักราช ๘๒๔ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๐๕) เมืองนะครรใทย พาเอาครัวอพยพหนีไปนาน แลให้พระกลาโหมไปตามได้คืนมา แล้วพระกลาโหมยกพลไปเอาเมืองสุกโขไทยได้เมืองคืนดุจเก่า
  6. ศักราช ๘๒๕ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๐๖) สมเด็จพระบรมใตรโลกเจ้าไปเสวยราชสมบัติเมืองพีดณูโลก แลตรัสให้พระเจ้าแผ่นดินเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุทธยา ทรงพระนาม สมเด็จบรมราชา ครั้งนั้น มหาราชท้าวลูก ยกพลมาเอาเมืองสุกโขใทย จึงสมเด็จพระบรมใตรโลกเจ้าแลสมเด็จพระอินทราชาเสด็จไปกันเมือง แลสมเด็จพระราชาเจ้าตีทัพพญาเถียนแตก แลทัพท่านมาปะทัพหมื่นณครร แลท่านได้ชนช้างด้วยหมื่นนครร แลครั้งนั้น เปนโกลาหลใหญ่ แลข้าศึกลาวทั้งสี่ช้างเข้ารุมเอาช้างพระที่นั่งช้างเดียวนั้น ครั้งนั้น สมเด็จพระอีนทราชาเจ้าต้องปืน ณ พระพักตร์ แลทัพมหาราชนั้นเลิกกลับคืนไป
  7. ศักราช ๘๒๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๐๗) สมเด็จพระบรมใตรโลกเจ้าสร้างพระวิหารวัดจุลามุนี
  8. ศักราช ๘๒๗ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๐๘) สมเด็จพระบรมใตรโลกเจ้าทรงพระผนวช ณ วัดจุลามุนีได้ ๘ เดือน แล้วลาพระผนวช
  9. ศักราช ๘๓๐ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๑๑) ครั้งนั้น มหาราชท้าวบุญชิงเอาเมืองเชยีงใมยแก่ท้าวลูก
  10. ศักราช ๘๓๓ เถาะศก (พ.ศ. ๒๐๑๔) ได้ช้างเผือก
  11. ศักราช ๘๓๔ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๑๕) พระราชสมภพพระราชโอรส
  12. ศักราช ๘๓๕ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๑๖) หมื่นณครรให้ลอก เอาทองพระเจ้าลงมาหุ้มดาบ
  13. ศักราช ๘๓๖ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๑๗) เสด็จไปเอาเมืองชเลยิง
  14. ศักราช ๘๓๗ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๑๘) มหาราชขอมาเป็นไมตรี
  15. ศักราช ๘๓๙ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๒๐) แรกตั้งเมืองณครรไทย
  16. ศักราช ๘๔๑ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๒๒) พระศรีราชเดโช ถึงแก่กรรม
  17. ศักราช ๘๔๒ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๒๓) พญาลานชาง ถึงแก่กรรม แลพระราชทานให้อภิเษกพญาซายขาวเป็นพญาลานชางแทน
  18. ศักราช ๘๔๔ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๒๕) ท่านให้เล่นการมหรสพ ๑๕ วันฉลองพระศรีรัตณมหาธาตุ แล้วจึงพระราชนิพนธ์มหาชาตีคำหลวงจบบริบูรณ์
  19. ศักราช ๘๔๕ เถาะศก (พ.ศ. ๒๐๒๖) สมเด็จพระบรมราชาเจ้าเสด็จไปวังช้างตำบลไทรย้อย
  20. ศักราช ๘๔๖ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๒๗) สมเด็จพระเชถถาทีราชเจ้าแลสมเด็จพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาทีราชเจ้าทรงพระผนวชทั้ง ๒ พระองค์
  21. ศักราช ๘๔๗ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๒๘) พระราชโอรสท่านลาพระผนวช แลประดิษฐานพระองค์นั้นไว้ในที่พระมหาอุปราช
  22. ศักราช ๘๔๘ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๒๙) สมเด็จพระบรมราชาทีราชเจ้าไปวังช้างตำบลสำฤทธีบุรณ
  23. ศักราช ๘๔๙ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๓๐) ท้าวมหาราชลูกพิราลัย
  24. ศักราช ๘๕๐ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๓๑) สมเด็จพระบรมราชาทีราชเจ้าเสด็จไปเอาเมืองทวาย แลเมื่อจะเสียเมืองทวายนั้นเกิดอุบาทว์เป็นหลายประการ โคตกลูกตัวหนึ่งเป็น ๘ เท้า ไก่ฟักไข่ออกตัวหนึ่งเป็น ๔ เท้า ไก่ฟักไข่สามดวงออกลูกเป็น ๖ ตัว อนึ่ง ข้าวสารงอกเป็นใบ อนึ่ง ในปีเดียวนั้น สมเด็จพระบรมใตรโลกเสด็จนฤพาน ณ เมืองพีศณูโลก
  25. ศักราช ๘๕๒ จอศก (พ.ศ. ๒๐๓๓) แรกให้ก่อกำแพงเมืองพีใชย
  26. ศักราช ๘๕๓ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๓๔) สมเด็จพระบรมราชาทีราชเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระเชถถาทีราชเจ้าเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุทธยา ทรงพระนาม สมเด็จพระรามาธีบดี
  27. ศักราช ๘๕๔ ชวดศก (พ.ศ. ๒๐๓๕) ประดิษฐานมหาสถูปพระบรมธาตุสมเด็จพระบรมใตรโลกแลสมเด็จพระบรมราชาทีราชเจ้า
  28. ศักราช ๘๕๘ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๐๓๙) ท่านประพฤติการเบญจาพิศพระองค์ท่าน แลให้เล่นการดึกดำบรรพ์
  29. ศักราช ๘๕๙ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๐๔๐) ท่านให้ทำการปถมกรรม
  30. ศักราช ๘๖๑ มะแมศก (พ.ศ. ๒๐๔๒) แรกสร้างพระวิหารวัดษรีสรรเพชญ
  31. ศักราช ๘๖๒ วอกศก (พ.ศ. ๒๐๔๓) สมเด็จพระรามาทีบดีเจ้าแรกให้หล่อพระพุทธเจ้าพระศรีษรรเพชญ แลแรกหล่อในวัน ค่ำ (ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๐๔๓ คำนวณได้เป็นวันขึ้น ๗ ค่ำ)
  32. ครั้นถึงศักราช ๘๖๕ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๔๖) วัน ๑๑ ค่ำ (ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๐๔๖ คำนวณได้เป็นวันขึ้น ๙ ค่ำ) ฉลองพระพุทธเจ้าพระศรีษรรเพชญ คณนาพระพุทธเจ้านั้นแต่พระบาทถึงยอดพระรัศมีนั้นสูงได้ ๘ วา พระพักตร์นั้นยาวได้ ๔ ศอก กว้างพระพักตร์นั้น ๓ ศอก แลพระอุระนั้นกว้าง ๑๑ ศอก แลทองหล่อพระพุทธเจ้านั้นหนัก ๕ หมื่น ๓ พันชั่ง ทองคำหุ้มนั้นหนัก ๒๘๖ ชั่ง ข้างหน้านั้นทองเนื้อ ๗ น้ำสองขา ข้างหลังนั้นทองเนื้อ ๖ น้ำสองขา
  33. ศักราช ๘๗๗ กุนศก (พ.ศ. ๒๐๕๘) วัน ๑๕ ๑๑ ค่ำ (ตรงกับวันอังคารที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๐๕๘ คำนวณได้เป็นวันแรม ๒ ค่ำ) เวลารุ่งแล้ว ๘ ชั้น ๓ ฤกษ์ ๙ ฤกษ์ สมเด็จพระรามาธีบดีเสด็จไปเมืองนครลำภาง ได้เมือง
  34. ศักราช ๘๘๐ ขาลศก (พ.ศ. ๒๐๖๑) ครั้งสมเด็จพระรามาทีปดี สร้างพระศรีสรรเพชญ เสวยราชสมบัติ แรกตำราพิชัยสงคราม แลแรกทำสารบาญชี พระราชสำฤทธีทุกเมือง

เชิงอรรถ


    รายการอ้างอิง