อาณาจักรสุโขทัย

บทนำ

  • สุโขทัย คนจะนึกถึง
    • ประวัติศาสตร์ (เริ่มราว 1800)
    • ศิลปะสุโขทัย
      • ประติมากรรม เช่น พระพุทธชินราช
      • สถาปัตยกรรม เช่น เจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์
    • เมือง เช่น เมืองเก่าสุโขทัย
    • อาณาจักรสุโขทัย
      • เดิมเชื่อว่าเป็นรัฐหัวหาด รัฐแรกของชนชาติไทย แต่เป็นความเข้าใจในสมัยหลัง ในช่วงร้อยกว่าปี
  • ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รับรู้สถานะสุโขทัย มีฐานะเป็นเมืองโท (พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง)
  • ช่วงต้นกรุงเทพ เกิดการประมวลรวม/ชำระ เรื่องราว-ตำนานโบราณ ในชื่อ “พงศาวดารเหนือ” โดย พระยาวิเชียรปราการ (น้อย) (ตามรับสั่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ)
  • วีรบุรุษในตำนานของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างจะเป็นเรื่องท้าวอู่ทอง ส่วนตอนบนเป็นพระร่วง
  • ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นวรรณกรรมที่อ้างอิงสุโขทัยในนาม แต่แท้จริงไม่ใช่สุโขทัย และคาดว่าแต่งขึ้นในรัชกาลที่สาม
  • สุจิตต์ วงษ์เทศ (สุโขทัย ไม่ใช่ราชธานีแห่งแรกของไทย) ตั้งข้อสังเกตว่า “ฝรั่งที่เข้ามามีนัยยะของภัยคุกคาม จึงต้องปลุกความสนใจใฝ่รู้ผู้นำทางภูมิปัญญา ให้ค้นหาตัวตนของชาติตน และเป็นกระแสในหมู่ปัญญาชน”
    • กระแสเดียวกันนี้ส่งผลให้พระจอมเกล้า เสด็จธุดงค์ขึ้นไปสุโขทัย ประมาณปี 2376 (เทศนาพระราชประวัติ) ซึ่งได้นำศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 และพระแท่นมนังคศิลา
    • ข้อถกเถียง: จารึก สท.1 อาจจะทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4
  • กิจกรรมที่เกิดขึ้นคือการถอดความหลักฐานลายลักษณ์อักษร
  • พระจอมเกล้า แปลและแจกจ่ายข้อความแปลให้แพร่หลาย รวมถึงการพระราชทาน “จารึกพิมพ์หิน” (กระดาษไขขูดสำเนาจากหิน) ให้ ราชทูตอังกฤษ (Sir John Bowring) และ ราชทูตฝรั่งเศส ระบุว่าเป็น “สำเนาจารึกสยามสมัยโบราณ ต้นฉบับมีอายุราว ค.ศ. 1193 ปรากฏว่าจารึกไว้บนเสาหินในเมืองสุโขทัยโบราณ ซึ่งเป็นพระนครหลวงของสยามในครั้งนั้น” เป็นการส่งผ่านไอเดีย การเปลี่ยนสถานะสุโขทัย จากหัวเมืองโท เป็นอดีตราชธานี
    • รวมถึง เที่ยวเมืองพระร่วง ของพระมงกุฎเกล้าฯ (สมัยพระบรมโอรสาธิราชฯ) ซึ่งเป็นทั้งประวัติศาสตร์ ตำนาน และการท่องเที่ยว
      • “แต่นอกจากที่จะเล่าเรื่องไปดูโบราณสถานต่างๆ ให้นักเลงโบราณคดีฟังและออกความคิด หวังใจว่า หนังสือเล่มนี้จะมีผลอย่างอื่นบ้าง คือประการหนึ่งบางทีจะทำให้คนไทย รู้สึกขึ้นมาบ้างว่า ชาติไทยเราไม่ใช่ชาติใหม่ และไม่ใช่ชาติที่เป็นคนป่า หรือที่เรียกตามภาษาอังกฤษ uncivilized ชาติไทยเราได้เจริญรุ่งเรืองมามากแล้ว”
    • นัยยะที่ส่งผ่านคือ
      • ความเป็นไทย มีประวัติศาสตร์ยาวไกล
      • ความเป็นไทย มีความศิวิไลซ์ เพราะประดิษฐ์อักษรเองใช้ได้
    • จอร์ช เซเดย์ เป็นผู้อ่านจารึกเป็นส่วนใหญ่
    • ภาพของสุโขทัยที่ได้หลักๆ มาจากการตีความเนื้อหาของจารึก สท.1 “เป็นสำคัญ”

บทวิเคราะห์

  • เดิมเชื่อว่า สุโขทัยอุดมสมบูรณ์จากวลี “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า จึงเห็นว่าสุโขทัยเป็นเมืองแล้ง แต่น้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก
    • ทางภูมิศาสตร์ สุโขทัยเป็นเมืองที่ตั้งในที่แล้ง ในเขตเงาฝน ดินไม่ใช่ดินอุ้มน้ำ ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำยมแต่ไม่ตั้งอยู่ติดแม่น้ำ แต่ขยับออกไปทางตะวันตก 15 กม. หลังพิงภูเขา บนพื้นที่ลาด
    • ทางโบราณคดี มีการทำทำนบ มีการทำคูพระนครเป็นหลายชั้น มีการทำอ่างเก็บน้ำโบราณ (บาราย) หรือรวมกระทั่งการขุดสระ (ตระพัง) แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้กับธรรมชาติด้านภัยแล้ง
  • ทางตะวันออกเป็นทะเลหลวง
    • อ.สุเนตร ตีความว่า น้ำท่วมกินวงกว้างจนเป็นทะเล

สุโขทัยนับเป็นบ้านเมืองยุคใหม่ ประมาณ พศว. 18 (พ.ศ. 17xx) รุ่นเก่าของสุโขทัย ก็อยู่ร่วมสมัยกับยุค ชัยวรมันที่ 7 แม้จะคิดว่าสุโขทัยเก่า แต่ อู่ทอง คูบัว ในลุ่มตอนล่าง เก่ากว่า (พศว. 11)

  • ดร.ธิดา สาระยา (เมืองสุโขทัยนี้ดี) กล่าวว่ามีเมืองคู่ ศรีสัชนาลัย-สุโขทัย

ศรีสัช-สุโขทัยได้รับอิทธิพลพุทธมหายาน

ศูนย์กลางเมืองยุคแรกน่าจะอยู่ที่วัดพระพายหลวง ก่อนการก่อตั้งเวียงสุโขทัย การเกิดบ้านเมืองส่วนนี้ไม่ได้เกิดลอยๆ อาจจะมีการสัมพันธ์ทางการเมือง เทคโนโลยี หรือวัฒนธรรม กับบ้านเมืองที่เจริญกว่า เช่น ลพบุรี หรือ พระนคร

กำเนิดสุโขทัย

เรานับอายุกำเนิดสุโขทัย อยู่ในช่วงท้ายพุทธศตวรรษที่ 18 และสิ่งสำคัญที่เห็นชัดคือสถานะความเป็น “กรุง” เช่น ความสืบเนื่องของสถาบันพระมหากษัตริย์ การปกครอง รวมถึงเศรษฐกิจสังคม ซี่งเมืองอื่นๆ ก่อนหน้านี้ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ชัดเจนเท่าสุโขทัย

เดิมชื่อว่า ดินแดนแถบสุโขทัยเป็นพวกมอญ ต่อมาเป็นขอม ส่วนชาวไทย อพยพมาจากจีนตอนใต้ มาอยู่สุโขทัยยังอยู่ในอำนาจขอม โดยอ้างอิงจากตำนานพระร่วงส่วยน้ำ รวมกับการศึกษาของหมอดอดจ์ (?) เรื่องการกระจายตัวของไท ในจีนตอนใต้

ด้วยตำนาน ทำให้เกิดความเข้าใจว่า สุโขทัย เกิดด้วยเพราะผู้นำที่เข้มแข็ง (Great man theory - ทฤษฎีมหาบุรุษ) ทำให้เข้าใจว่า มหาบุรุษเราลุกขึ้นมาขับไล่ขอม และชั่วข้ามคืนก็มหาบุรุษก็สร้างความยิ่งใหญ่อันมหาศาลให้กับอาณาจักรจนกว้างใหญ่ไพศาลลงมาถึงทางใต้จนจรดฝั่งสมุทร

บ่อยครั้งเมื่อเราพูดถึงสุโขทัย เราจะเริ่มต้นที่ราชวงศ์พระร่วง แต่เราพูดมากไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ และเรามาพูดมากสมัยพ่อขุนรามคำแหง ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างของสุโขทัย จะมารวมอยู่ที่พ่อขุนรามคำแหงและราชวงศ์พระร่วงเป็นหลัก ทั้งหมดนี้เกิดจากเมื่อเราจะสร้างภาพประวัติศาสตร์สุโขทัย เราอิงอยู่กับหลักฐานอย่างจำกัด เช่นการใช้ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นสำคัญ และเกือบจะเท่านั้น แต่เราลืมว่า จารึกสุโขทัย มีเยอะ และไม่ได้ออกมาจากราชวงศ์เดียว แต่เราไม่ได้พูดถึงจารึกของกลุ่มอื่นๆ

จารึกที่สำคัญ นอกจากหลักที่ 1 ก็ยังมีหลักที่ 2 และหลักที่ 11 ด้วย

สท.1 (พ่อขุนรามคำแหง) (เริ่มจารึกประมาณ พ.ศ. 1826)

สท.2 (วัดศรีชุม) (จารึกประมาณ พ.ศ. 1884 - 1910)

สาระสำคัญของจารึก สท.2 (วัดศรีชุม) เป็นจารึกที่มีความพิเศษ ที่กล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนหน้าที่ปรากฏในจารึก สท.1 ก่อนสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งเรื่องราวก่อนสมัยราชวงศ์พระร่วง ไม่มีบันทึกในจารึกหลักอื่นๆ

สุโขทัยมีความเป็นเมืองมาก่อนสมัยจะมีราชวงศ์พระร่วงแล้ว โดยเมืองสุโขทัยเดิม ปกครองโดย พรญาศรีนาวนำถุม เป็นขุนเป็นพ่อปกครองในนครสองอัน (สุโขทัยและศรีสัชนาลัย) ลูกพรญาศรีนาวนำถมผู้หนึ่ง ชื่อพรญาผาเมือง เป็นขุนในเมืองราดเมืองลุม ราชทินนาม “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” นามเดิม กมรเตงอัญผาเมือง “เมื่อก่อนผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระ ให้ลูกสาวนามสิขรมหาเทวี กับขรรค์ชัยศรี” แปลว่าพ่อขุนผาเมืองไม่ใช่คนธรรมดา ต้องมีความสามารถระดับหนึ่งที่เมืองพระนครจะผูกมิตรด้วย ดังนั้นความเชื่อที่ว่ากลุ่มผู้นำไม่ถูกกับเขมร จึงดูไม่เข้ากับหลักฐาน

เมื่อพรญาศรีนาวนำถมสวรรคต ทำให้ขอมสบาดโขลญลำพง มายึดเมืองสุโขทัยไป

  • วีระ ธีรภัทร -- ตำแหน่งโขลญลำพง น่าจะเป็นตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ เพราะมีตำแหน่งนำชื่อว่า โขลญ เต็มไปหมดในทำเนียบข้าราชการ และ ลำพงน่าจะแปลว่า ตำบล/มณฑล (ท้องที่) ขอมสบาดโขลญลำพง น่าจะเป็นผู้ตรวจราชการของขอม (พระนคร หรือ ละโว้) // ถ้าอธิบายว่ายึดอำนาจ แปลว่าก่อนหน้านี้ไม่มีอำนาจ แต่ถ้าเดิมมีอำนาจอยู่แล้วและแตกคอกัน ก็อาจจะเป็นเรื่องหนึ่ง
  • อิคิชิว่า? (ราชมรรคา) มองว่า ศรีสัชนาลัยเป็นปลายทางด้านทิศเหนือของพระนคร

การยึดอำนาจของขอมสบาดโขลญลำพง ทำให้พ่อขุนผาเมืองไม่พอใจ จึงรวมพลกับพ่อขุนบางกลางหาว (เมืองบางยาง) ท้ายที่สุดคือแยกกันตี โดยที่บางกลางหาวตีศรีสัชนาลัย ผาเมืองตีสุโขทัย ที่น่าสนใจคือ พ่อขุนบางกลางหาว ลงมาสุโขทัย แต่ไม่เอาพลเข้าเมือง พ่อขุนผาเมืองจึงยกเมือง ราชทินนาม พระขรรค์ ฯลฯ ให้ และกลับไปเมืองราดตามเดิม และหายไปจากประวัติศาสตร์ไทย

แต่การขยายอาณาจักรของวงศ์พระร่วง น่าจะขยายอิทธิพลไปครอบคลุมจนถึงเขตอิทธิพลของเมืองราด จึงน่าสงสัยว่า การที่มหาเถรศรีศรัทธาเสด็จผนวชทั้งๆที่ก็เป็นนักรบ ก็น่าจะไม่ได้หมายความว่าจะสามัคคีสมบูรณ์สักเท่าไร

  • รัชกาลที่ 6 (เที่ยวเมืองพระร่วง) สันนิษฐานว่า นางเสือง อาจจะเป็นน้องสาวพ่อขุนผาเมือง

การเติบโตของสุโขทัย ผิดแผกไปจากบ้านเมืองรุ่นเดียวกัน ซึ่งเป็นบ้านเมืองที่มีความเป็นใหญ่เป็นกลุ่มๆ ไม่มีการรวมศูนย์อำนาจอย่างเด่นชัด เกิดคำว่า “กรุง” ขึ้น ซึ่งไม่ใช่ทุกเมืองจะมีได้เป็นได้ เมื่อดูในจารึกพบว่า “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า”

การขยายเครือข่ายของสุโขทัย เมื่อดูในจารึก คราวขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดยกมาที่เมืองตาก จากสุโขทัยออกไปรบถึงเมืองตาก “ออกไปทำไม” เมื่อพิจารณาว่าน่าจะเป็นการพยายามควบคุมเส้นทางการค้าทางบก จึงสมเหตุที่จะไป เพื่อเปิดเส้นทางลงทะเลเพื่อติดต่อค้าขาย/เจริญสัมพันธไมตรีด้านอื่นๆ เช่น การอัญเชิญสมณทูตสมัยพญาลิไท แต่เมืองที่มีเหตุปัจจัยด้านการค้าเป็นฐาน จะรุ่งเรืองหรือร่วงโรย ก็อยู่ที่สถานะของการค้า จึงพบว่าต่อมาเมื่อการค้าทางทะเลเจริญรุ่งเรืองขึ้น สุโขทัยจึงร่วงโรย และเมืองที่อยู่ติดเส้นทางน้ำอย่างอโยธยา หรือพิษณุโลก จึงขึ้นมามีความสำคัญแทน และเมื่ออายุของสุโขทัยสั้น จึงไม่มีเวลามากพอที่จะมีการพัฒนาการรูปแบบการปกครองให้เป็นระบบแบบแผน ระบบการเมืองจึงยังคงเป็นระบอบเครือข่ายพันธมิตร ซึ่งเมื่อกษัตริย์ที่มีบารมีเมากกว่าเสด็จสวรรคต กษัตริย์รัชกาลต่อมาบารมีไม่มากพอ บ้านเมืองก็แตกออกเป็นพวกๆ

=========================== Part 3 ==============================

กษัตริย์สุโขทัย

รายพระนามกษัตริย์สุโขทัย เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันยาว มีการแก้รายละเอียด ปีพ.ศ. ชื่อบุคคล ชักเข้าชักออกโดยตลอด แต่โดยทั่วไปเชื่อถือกันว่า กษัตริย์สุโขทัยจำนวนหนึ่ง น่าจะมีพระนามตรงกับที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักหนึ่ง คือ จารึกสุโขทัยหลักที่ 45 (ประมาณ พ.ศ. 1935) ซึ่งเป็นการกระทำสบถสาบาน ซึ่งในการกระทำสบถสาบาน มีส่วนหนึ่งต้องกระทำการอัญเชิญองค์พยานต่างๆ โดยส่วนหนึ่งคือผีบรรพบุรุษ ซึ่งผลจากการอัญเชิญผีบรรพบุรุษมา ทำให้ทราบได้ว่า พระนามบรรพบุรุษที่สำคัญ พอจะมีใครได้บ้าง ซึ่งประกอบด้วย “ปู่พรญาศรีอินทราทิตย์ ปู่พรญาบาน ปู่พรญารามราช ปู่ไสสงคราม ปู่พรญาเลอไท ปู่พรญางั่วนำถม ปู่พรญามหาธรรมราชา

ถ้าพูดถึงสุโขทัยในฐานะอาณาจักร ควรเริ่มต้นที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แต่ถ้าพูดในฐานะเมือง มันย้อนขึ้นไปไกลกว่านั้น

สุโขทัยที่ดูเหมือนเป็นยุคทองและความราบรื่นในการผลัดแผ่นดิน ที่จริงไม่ได้เป็นแบบนั้น มีรายการนองเลือดให้เห็นเช่นกัน จึงเห็นได้ว่า อำนาจทางการเมืองผูกติดกับอำนาจบารมีของกษัตริย์แต่ละพระองค์ เช่น จารึกหลักที่ 4 วัดป่ามะม่วง กล่าวว่า พญาลิไทใช้ขวานประหารศัตรู //

จารึก 106 (สท.18) (วัดช้างล้อม) พูดถึง พระยาศรีเทพาหูราช / เจ้าพรหมชัย (ดร.ประเสริฐ ณ นคร สันนิษฐานว่า อาจจะได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ปกครองสุโขทัย)

ปัจจัยทางการเมือง

สุโขทัย อย่างน้อยต้องดิ้นรนให้ครอบคลุมพื้นที่ ระหว่างแม่น้ำโขง และทางไปออกทะเล(อันดามัน) แต่สุโขทัยก็ไม่สามารถขยายดินแดนออกไปได้ เพราะถูกประกบด้วยล้านนาทางเหนือ และ สุพรรณภูมิกับละโว้ ทางใต้ ซึ่งภายหลังเมื่อสุพรรณภูมิรวมกับละโว้เป็นอยุธยา ทำให้เป็นการปิดเส้นทางตอนใต้ของสุโขทัย ทำให้การเมืองของสุโขทัยเป็นลักษณะการเมืองที่ถูกกดทับ ไม่สามารถเจริญเติบโตไปได้อีก

การสืบทอดอำนาจ

  1. พ่อให้แก่ลูก พี่ให้แก่น้อง
  2. บารมีเฉพาะตัว
    1. ด้านศาสนา (เกี่ยวกับพระธาตุ)
    2. ด้านผีบ้านผีเมือง ไหว้ดีพลีถูก บ้านเมืองอยู่ยั่งยืน

ประวัติศาสตร์ช่วงปลาย (มหาธรรมราชา 1 - 4)

  • เห็นร่องรอยความสัมพันธ์กับล้านนาและอยุธยา
  • สุโขทัยขาดเอกภาพทางการเมือง / ขาดระบบการปกครองที่เป็นระบบระเบียบ
  • พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ – แม้แต่อยุธยาช่วงต้น ก็ไม่มีเอกภาพเช่นกัน เป็นการรวมตัวหลวมๆ สองฝั่ง สุพรรณ-อโยธยา
  • ตำนานพระพุทธสิหิงค์ – ขุนหลวงพะงั่ว ไปมีความสัมพันธ์กับเจ้าหญิงสุโขทัย ผู้ที่ต่อมาเป็นมารดาเจ้าเมืองกำแพงเพชร
  • จารึกสุโขทัย 38 (พ.ศ. 1940) ปรากฎชื่อกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ออกพระนาม "พระจักรพรรดิ" ขึ้นไปเสวยราชย์ที่เมืองกำแพงเพชร -- พิเศษฯ เชื่อว่าเป็นสายสุพรรณภูมิ
  • สมัยสมเด็จพระนครินทราชาธิราช (พ.ศ. 1952) - พระโอรส (เจ้าสามพระยา) ไปครองชัยนาทบุรี
  • พิเศษฯ เชื่อว่า สุพรรณภูมิได้รับแรงหนุนจากสุโขทัย เพื่อยึดอำนาจจากราชวงศ์อู่ทอง
  • เจ้าสามพระยา ส่งพระบรมไตรโลกนาถ (ตำแหน่งพระราเมศวร) ไปอยู่สองแคว
  • พระบรมไตรโลกนาถ พยายามควบรวมสุโขทัย ผ่านระบบราชการ โดยการตราพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร-หัวเมือง
  • สุโขทัยสิ้นสุดอำนาจการเมืองโดยสมบูรณ์ ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

อ้างอิง

  • สังเขปประวัติศาสตร์สุโขทัย. โดย สุเนตร ชุตินธรานนท์ และ วีระ ธีรภัทร. (มปป). อัพโหลดโดย Hassi S Thanongsak. [YouTube], จาก: https://www.youtube.com/watch?v=ZCXH5yHR_d0

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม