อาณาจักรสุโขทัย เป็นอาณาจักรโบราณแห่งหนึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีอายุช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 18 - 20

การรับรู้

ในสมัยอยุธยา การรับรู้เรื่องราวของสุโขทัย ไม่เป็นที่กว้างขวางและไม่เป็นเรื่องสำคัญนัก เนื่องจากเมืองสุโขทัยมีฐานะเป็นเพียงเมืองโทของอาณาจักรอยุธยา ตามพระไอยการตำแหน่งนาทหาร-หัวเมืองเท่านั้น และในสมัยอยุธยา ซึ่งมีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจ ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องราวของอาณาจักรสุโขทัยมากนัก ด้วยในขณะนั้นถือว่าเป็นคนละดินแดนกันมาก่อน เว้นแต่จะมีบางเรื่องที่ได้เกี่ยวข้องกับกษัตริย์อยุธยา ซึ่งถือเป็นวงศ์อวตาร จึงจะมีเรื่องราวของอาณาจักรสุโขทัย ได้บันทึกลงในพระราชพงศาวดารฯ การรู้จักและรับรู้เรื่องสุโขทัย จึงจำกัดอยู่แต่เฉพาะกับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่หรือเป็นผู้เกี่ยวข้องกับอาณาจักรสุโขทัย และเมืองบริวาร เพียงเท่านั้น ดังจะเห็นได้ถึงตำนานพื้นบ้าน เช่น ตำนานพระร่วงส่วยน้ำ ก็จะเป็นตำนานพื้นบ้านของเฉพาะเขตพื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน

เรื่องราวของอาณาจักรสุโขทัย มีความสำคัญเพิ่มขึ้นในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากเกิดการประมวลรวม/ชำระ เรื่องราว-ตำนานโบราณ ในชื่อ “พงศาวดารเหนือ” โดย พระยาวิเชียรปราการ (น้อย) ตามรับสั่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ซึ่งสำหรับชาวรัตนโกสินทร์แล้ว เรื่องสุโขทัยถือเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยอยู่ในมโนภาพมาก่อน และเป็นที่สนใจแก่ชนชั้นนำของรัตนโกสินทร์

ต่อลงมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องอาณาจักรสุโขทัยได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ถึงกับพระราชทาน “จารึกพิมพ์หิน” (กระดาษไขขูดสำเนาจากหิน) ให้ ราชทูตอังกฤษ (Sir John Bowring) และ ราชทูตฝรั่งเศส ระบุว่าเป็น “สำเนาจารึกสยามสมัยโบราณ ต้นฉบับมีอายุราว ค.ศ. 1193 ปรากฏว่าจารึกไว้บนเสาหินในเมืองสุโขทัยโบราณ ซึ่งเป็นพระนครหลวงของสยามในครั้งนั้น” เป็นการส่งผ่านไอเดีย การเปลี่ยนสถานะสุโขทัย จากหัวเมืองโท เป็นอดีตราชธานี

จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดวรรณกรรม "เที่ยวเมืองพระร่วง" ขึ้น ซึ่งเป็นทั้งประวัติศาสตร์ ตำนาน และการท่องเที่ยว พระองค์ได้ระบุในความนำไว้ โดยมีนัยยะที่ส่งผ่านคือ ความเป็นไทยมีประวัติศาสตร์ยาวไกล ความเป็นไทยมีความศิวิไลซ์ เพราะประดิษฐ์อักษรเองใช้ได้ ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวนั้น มีความว่า[1]

แต่นอกจากที่จะเล่าเรื่องไปดูโบราณสถานต่างๆ ให้นักเลงโบราณคดีฟังและออกความคิด หวังใจว่า หนังสือเล่มนี้จะมีผลอย่างอื่นบ้าง คือประการหนึ่งบางทีจะทำให้คนไทย รู้สึกขึ้นมาบ้างว่า ชาติไทยเราไม่ใช่ชาติใหม่ และไม่ใช่ชาติที่เป็นคนป่า หรือที่เรียกตามภาษาอังกฤษ uncivilized ชาติไทยเราได้เจริญรุ่งเรืองมามากแล้ว

เที่ยวเมืองพระร่วง

ด้วยข้อจำกัดของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้ในช่วงแรกๆ คนยุคหลังจะรับรู้เรื่องราวและภาพของอาณาจักรสุโขทัย จากการตีความเนื้อหาของศิลาจารึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) เป็นสำคัญ


  1. "เที่ยวเมืองพระร่วง" อ้างอิงใน สุเนตร-วีระ. สังเขปประวัติศาสตร์สุโขทัย

ประวัติศาสตร์

การก่อตั้ง

เมืองสุโขทัย เดิมมีฐานะเป็นสถานีการค้าของอาณาจักรละโว้ ซึ่งในสมัยดังกล่าวละโว้อยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิขอม หลังจากนั้นราวปี 1782 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพงเป็นผลสำเร็จ และได้สถาปนาเอกราชให้อาณาจักรสุโขทัย โดย พ่อขุนบางกลางหาว ได้ครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง ในพระนาม "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์" ซึ่งพระองค์ได้รับการถวายพระนามนี้ พร้อมทั้งพระแสงขรรค์ชัยศรี จากพ่อขุนผาเมืองผู้เป็นสหายร่วมรบ

การขยายดินแดน

อาณาเขตดั้งเดิมของอาณาจักรสุโขทัย เชื่อกันว่ามีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนบน ต่อเนื่องไปยังบางส่วนของพื้นที่ภูเขาทางเหนือ อย่างไรก็ดี ด้วยลักษณะและรูปแบบการปกครองของรัฐโบราณในอุษาคเนย์ ส่งผลให้รัฐไม่ได้มีเขตแดนที่แน่นอนถาวรนัก มีการขยายและเปลี่ยนแปลงอาณาเขตบ่อยครั้ง โดยมีเมืองหรือรัฐต่างๆ ถูกรวมเข้าอยู่ภายใต้อำนาจเป็นบางช่วงเวลา

จารึกวัดศรีชุม ระบุว่า ในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถุม อาณาจักรสุโขทัยมีศูนย์กลางอยู่ที่ "นครสองอัน" ซึ่งประกอบด้วยสุโขทัย และศรีสัชนาลัย[2] และถึงแม้จารึกจะชำรุดและเลือนลางไปมาก แต่ก็ยังได้เห็นสภาพอาณาเขตโดยประมาณ คือ ด้านตะวันตกจรดเมืองฉอด เวียงเหล็ก ด้านเหนือจรดลำพูน เชียงแสน พะเยา และเมืองลาว[3]

จารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้ระบุว่ามีการขยายอำนาจของอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ไปถึงยังพื้นที่ไกลออกไป โดยระบุว่าทางด้านทิศตะวันออก มีพื้นที่ถึงเมืองสรลวงสองแคว ลุมบาจาย สะค้า เวียงจันทน์ เวียงคำ ทางทิศใต้ ถึงเมืองคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช จรดฝั่งทะเลสมุทร ทิศตะวันตก ถึงเมืองฉอด ไปตลอดจนถึงหงสาวดี และทางเหนือ ครอบคลุมถึงเมืองแพร่ น่าน ปัว จนพ้นฝั่งโขงถึงเมืองชวา[4]

ขณะที่จารึกวัดเขาสุมนกูฏ ระบุว่า ในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัย ด้านเหนือน้ำน่านจรดดินแดนของพรญาผากอง เจ้าเมืองน่านเมืองปัว ด้านตะวันออกถึงดินแดนของพรญาฟ้าง้อม[5] ซึ่งแม้อีกสองทิศจะเลือนลางหายไป แต่ในข้อความที่ต่อจากนั้นก็ได้ระบุชื่อเมืองที่พญาลิไท สามารถไปเกณฑ์เอาพลมาได้ ซึ่งน่าเชื่อได้ว่าก็เป็นดินแดนในความปกครองของพระองค์อยู่แล้ว โดยปราฎชื่อเมือง คือ สรลวงสองแคว ปากยม พระบาง ชากังราวสุพรรณภาว นครพระชุม เมืองพาน เมืองราด เมืองสะค้า เมืองลุมบาจาย[6] และมีระบุเพิ่มเติมในจารึกนครชุม ว่ามี เมืองคนที เมืองพระบาง เมืองบางพาน และเมืองบางฉลัง อยู่ด้วย[7] ส่วนในจารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร) โดยเนื้อความกล่าวถึงพญาลิไท ให้ข้าราชบริพารไปเตรียมการต้อนรับพระสังฆราชจากนครพัน ซึ่งปรากฎชื่อเมืองที่ข้าราชบริพารต้องเตรียมต้อนรับมี เมืองฉอด เมืองเชียงทอง เมืองบางจันทร์ เมืองบางพาน[8]

เหตุการณ์สำคัญ


  1. จารึกวัดศรีชุม ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 9-10
  2. จารึกวัดศรีชุม ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 12-15
  3. จารึกพ่อขุนรามคำแหง ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 17-26
  4. จารึกวัดเขาสุมนกูฏ ด้านที่ 3 บรรทัดที่ 19-23
  5. จารึกวัดเขาสุมนกูฏ ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 6-13
  6. จารึกนครชุม ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 19-22
  7. จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร) ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 20-22
  8. ตรี อำมาตยกุล, "ประวัติศาสตร์สุโขทัย"
  9. จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร) ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 5-12
  10. จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร) ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 51-53
  11. จารึกนครชุม ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1
  12. จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาไทยหลักที่ 1) ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 20-25

ที่มาของชื่อ

[14]

การแทรกแซงจากอาณาจักรอยุธยา

การควบรวมกับอาณาจักรอยุธยา

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ

ภูมิอากาศ

ทรัพยากรธรรมชาติ

การเมืองการปกครอง

รูปแบบการปกครอง

รายพระนามกษัตริย์ผู้ปกครอง

การทหารและกำลังพล

เขตการปกครอง

[15] AA


  1. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย
  2. พงศาวดารหลวงประเสริฐ

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

เศรษฐกิจ

พาณิชยกรรม

เกษตรกรรม

อุตสาหกรรม

ประชากร

เชื้อชาติ

เมืองสุโขทัยเป็นเมืองที่มีประชาชนจากหลากหลายเชื้อชาติอยู่ร่วมกัน ปรากฎชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ กาว ลาว ชาวอู ชาวของ[16]

ภาษา

ศาสนาและความเชื่อ


  1. จารึกพ่อขุนรามคำแหง ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 2-3

วัฒนธรรม

วรรณกรรม

การแต่งกาย

อาหาร

พิธีกรรม

เทศกาลและงานประเพณี

จิตรกรรม

ประติมากรรม

สถาปัตยกรรม

ดนตรี

นาฏศิลป์

กีฬา

การละเล่น

การสาธารณสุข



    รายการอ้างอิง

    แหล่งข้อมูลอื่น